การเดินหน้ามาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) นับเป็นแรงหนุนสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ พร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบาย BCG Model เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มคู่ไปกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการลงทุนใน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งต่างๆ ปัจจัยที่กล่าวมาเหล่านี้ล้วนทำงานอย่างสอดประสาน เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาภาค อุตสาหกรรมไทย และขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมีนัยสำคัญ นี่คือพลวัตที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนตลอดปี 2566 ที่ผ่านมา

นอกจากนั้น ที่ผ่านมา ยังเกิดนิมิตรหมายที่ดีที่ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ รวมถึงองค์กรที่เป็น สถาบันฝึกอบรม ต่างก็หันมาร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาภาค อุตสาหกรรมไทย ในทุกมิติ โดยเฉพาะการเดินหน้าทำการวิจัย และบริการทางวิชาการต่างๆ ร่วมกันเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ยกระดับทักษะการทำงานของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เกิดความร่วมมือครั้งสำคัญ ระหว่าง บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท SI (System Integrator) สัญชาติไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบูรณาการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ากับอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ และ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) สถาบันฝึกอบรมที่มีองค์ความรู้ครบครันด้านระบบการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 2 องค์กรนี้ มีความมุ่งมั่นเดียวกัน คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญเพื่อติดตั้งทักษะจำเป็นให้กับบุคลากรในภาค อุตสาหกรรมไทย รวมถึงการร่วมมือกันทำวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีสำคัญที่จะนำทางให้ภาคอุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ได้ในเร็ววัน

กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด

TKK เดินหน้า “สร้างพาร์ทเนอร์” ดันภาค อุตสาหกรรมไทย สู่ยุค Industry 4.0 ทั้งระบบ

ในโอกาสที่มีการจัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและบริการวิชาการ หรือ MOU ระหว่าง สถาบันไทย-เยอรมัน และบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้กล่าวในโอกาสนี้ว่า

“การ MOU ในครั้งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ดีของการเริ่มต้นความร่วมมืออย่างเป็นทางการของทาง สถาบันไทย-เยอรมัน และบริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 องค์กร ก็ได้เริ่มต้นความร่วมมือกันมาแล้ว และตลอดเวลาที่ทำงานร่วมกันก็พบว่าทั้งทาง สถาบันไทย-เยอรมัน และ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่ตรงกันในการส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงในการร่วมมือดำเนินการทางวิชาการ การวิจัย และบริการทางวิชาการต่างๆร่วมกันและส่งเสริมการเพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการ และทักษะปฏิบัติของหน่วยงานและบุคลากรร่วมกันมาโดยตลอด”

“มาถึงวันนี้ ที เคเค คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งมาได้ 19 ปีแล้ว จุดเริ่มต้นของ ทีเคเค มาจากบริษัท Trading เป็นบริษัทของคนไทย ถือหุ้นโดยคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งขึ้นโดยเงินทุนจดทะเบียน 250,000 บาท ปัจจุบัน เรามีผู้ถือหุ้นเป็นภาครัฐ โดย ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นกองทุน ชื่อว่า กองทรัชเอสเอ็มอีก้าวไกลไปด้วยกัน กองทรัชนี้ได้รับการอนุมัติโดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งทีเคเคถือเป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติเงินทุนซึ่งเป็นเงินทุนใหม่ที่มาเสริมให้กับบริษัท โดยคัดเลือกจากทั้งหมด 200 บริษัท ซึ่งทางกองทรัชที่พิจารณาให้เงินทุนได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของทีเคเคที่จะเติบโตได้ในฐานะบริษัทของคนไทยที่เป็นบริษัทนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ เมื่อ 6 ปีที่แล้ว มาในวันนี้กองทรัชนี้ถือมาได้เข้าปีที่ 4 แล้ว ซึ่ง ทีเคเค ก็มีอัตราการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และเราคาดว่าไม่เกินปี 2025 ทีเคเค จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์”

กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด

“อย่างไรก็ดี จากความก้าวหน้าในการรับงานโปรเจกต์สำคัญดังที่กล่าวมานี้เอง ทำให้เราต้องการหาพาร์ทเนอร์และสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ควบคู่กันไป ซึ่ง สถาบันไทย-เยอรมัน เป็นหนึ่งในสถาบันที่ทีเคเคมุ่งมั่นจะมาสร้างความร่วมมือในฐานะพาร์ทเนอร์มาโดยตลอด เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของ TGI เช่น ในส่วนของโลเคชั่นที่ตั้ง ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางภาคอุตสาหกรรมอันทันสมัย และยังเป็นแหล่งรวมทั้ง อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ อย่างครบวงจร จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ท่าน”

“ดังนั้น ด้วยจุดแข็งและประสบการณ์ที่ทาง TGI มีนี้ ทีเคเค จึงเชื่อมั่นว่า เราจะร่วมมือกันและเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีต่อกันได้อย่างแน่นอน โดยคาดว่าทั้งสององค์กรจะสามารถเติมเต็มอีโคซิสเตมซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี และดิฉันเชื่อมั่นว่า การมีพาร์ทเนอร์ที่ดีจะทำให้องค์กรสามารถขยายธุรกิจ ไม่ใช่แค่รับงานในประเทศได้เท่านั้น แต่เราจะโกอินเตอร์ไปรับงานในต่างประเทศได้ทั่วโลกเลย เพราะในต่างประเทศ ยังมีโอกาสให้เราไปขยายธุรกิจได้อีกมากทีเดียว และทีเคเคชื่อมั่นว่าชื่อเสียงของบริษัทไทยก็มีความน่าเชื่อถือในระดับโลก ไม่แพ้ชาติอื่นเลย”

“ยิ่งถ้าองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมวิชาชีพ สถาบันฝึกอบรมต่างๆ จับมือกันให้แน่น ในลักษณะของเครือข่ายหรือ Network ก็จะยิ่งช่วยเสริมความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย เป็นความภาคภูมิใจในฐานะคนไทย บริษัทไทย ด้วย”

“อย่างล่าสุด จากการที่ได้ไปดูงานที่สหรัฐอเมริกา ก็ได้ไปประสานความร่วมมือกับทาง บอสตัน เทคโนโลยี บริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่มีชื่อเสียงด้าน หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ซึ่งในเร็วๆ นี้ จะมีนักศึกษาจาก Harvard Business School ประมาณ 50 ท่าน ที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตร MBA จะเดินทางมาศึกษาดูงาน ซึ่งมองไว้ว่าจะมีการให้มาดูงานที่ TGI ด้วย และถ้าเป็นไปตามแผนงานนี้ เรามองว่าเป็นโอกาสที่ดี จากเดิมที่เรามีความร่วมมือกับประเทศทางฝั่งเอเชีย ก็ขยายไปในประเทศทางฝั่งตะวันตกได้ ดังนั้น ในอนาคต นอกจากทาง TGI และ ทีเคเค จะมาร่วมมือกันในเรื่องของการจัดหลักสูตรอบรม การให้บริการวิชาการต่างๆ แล้ว เรายังสามารถสร้างความร่วมมือเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้ในหลากหลายมิติอีกด้วย”

สมชาย จักร์กรีนทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)

TGI ชี้ ความร่วมมือกับ TKK เติมเต็มอุตสาหกรรมการผลิตของไทย เข้าถึงเทคโนโลยีทันสมัย ตอบโจทย์ Smart Manufacturing ได้แบบตรงจุด

ด้าน สมชาย จักร์กรีนทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการลงนามความร่วมมือกับ TKK ในครั้งนี้ว่า

“ที่มาของการลงนามความร่วมมือในครั้ง เกิดขึ้นจากพันธกิจของทาง สถาบันไทย-เยอรมัน ที่เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงให้กับทางภาคอุตสาหกรรม และยังมีภารกิจอีกหลายด้านเพื่อช่วยยกระดับผู้ประกอบการ เช่น ที่ TGI จะเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดเทคโนโลยีในเรื่องของการออกแบบ การผลิต ในงานระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รวมถึง TGI ยังเป็นกลไกของภาครัฐและเอกชนในเรื่องของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย สู่ อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของเรา”

“นอกจากนั้น ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นพันธกิจร่วมกับทีเคเค คือ การขยายความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง TGI มองว่า ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะขับเคลื่อนเพียงองค์กรเดียวย่อมไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้ TGI ก็จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ที่เรามองว่า ทาง TGI เอง ก็จะมีเครือข่ายที่มีจุดแข็งต่างกัน ถ้าเราเอาแต่ละภาคส่วนมาร่วมมือกัน เพื่อให้จุดแข็งนั้นมาเสริมซึ่งกันและกัน ย่อมสามารถยกระดับผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็วขึ้น นี่จึงเป็นที่มาของการทำ MOU ร่วมกับทีเคเค”

สมชาย จักร์กรีนทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)

“โดย TGI มองว่า ทีเคเคเองก็มีจุดแข็งในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทางทีเคเคมี ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการได้ เราจึงได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ภาคอุตสาหกรรม”

“ทั้งนี้ อย่างล่าสุด ทีเคเค ก็มีเทคโนโลยีสำคัญอย่าง Cira core ซึ่งจะตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่จะยกระดับอุตสาหกรรมโดยเอา Cira core มาเป็นเทคโนโลยีสำคัญ เพื่อนำ AI มาปรับใช้ในกระบวนการผลิตยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังรวมถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่สามารถนำมาใช้ตอบโจทย์และพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมได้”

“และจุดแข็งที่สำคัญของทีเคเค คือ การเป็นบริษัท SI หรือ System Integrator ที่จะช่วยผู้ประกอบการในการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งทีเคเคมีครบทั้งเทคโนโลยีและพันธมิตรที่หลากหลาย เมื่อเราร่วมมือกันได้ ก็จะทำให้เราสามารถยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของไทยให้เข้าถึงตัวเทคโนโลยีได้อย่างตอบโจทย์มากขึ้น”

“นอกจากนั้น ในส่วนของ เทคโนโลยี 5G ทาง TGI ให้ความสำคัญและมีการเปิดหลักสูตรอบรมและสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้าถึงเทคโนโลยีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเพิ่ม Productivity หรือ ผลผลิต ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต และตอบโจทย์ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตของไทยเป็น 4.0 ได้ทั้งระบบ”

“ที่ผ่านมา เราทำโครงการร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa ในการทำ Test base 5G เพื่อนำมาต่อยอดปลายปิรามิด จากที่เป็นออโตเมชั่น ขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ ที่จำเป็นต้องมีกรณีศึกษา หรือ Use case เข้ามาใช้ ตอบรับกับอุตสาหกรรมที่เป็น Smart Manufacturing ซึ่งในจุดนี้เองที่ทาง ทีเคเค สามารถเข้ามาเป็นหนึ่งใน Use case ในตัว Test base 5G ได้ เช่น Service Robot หรือหุ่นยนต์บริการ และ โปรแกรม Cira core เป็นต้น การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นการประกาศวิสัยทัศน์ที่จะดำเนินความร่วมมือด้านนี้ร่วมกันต่อด้วย”


ข่าวจาก salika.co