จากบทความที่ ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ rama.mahidol.ac.th ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า “การเสพติดสื่อสังคมออนไลน์” มีผลทำให้เสี่ยงต่อ “ภาวะซึมเศร้า” ได้ โดยระบุว่าพฤติกรรมเสี่ยงที่ว่านี้ก็เช่นการใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์นานกว่าที่ตั้งใจไว้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรือใช้เวลาจนส่งผลกระต่อการทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ตลอดจนใช้สื่อสังคมออนไลน์จนไม่ได้ทำกิจกรรมและงานอดิเรกอื่น

โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เสพติดสื่อสังคมออนไลน์เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ก็เพราะการใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์มากเกินพอดี ทำให้เปรียบเทียบตนเองกับข้อมูลที่ผู้อื่นโพสต์โดยไม่รู้ตัว เช่น รูปร่าง ฐานะ ความเป็นอยู่ เป็นต้น ขณะที่หลายคนก็ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์นี้ในการโพสต์เพื่อจัดการอารมณ์ทางลบต่างๆ เช่น เศร้า โกรธ เบื่อ หรือเหงา หรือใช้เพื่อรังแกหรือต่อว่าผู้อื่นด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการสร้างความรู้สึกด้านลบให้กับตนเองและยังส่งต่อไปที่ผู้อื่นทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ

จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนี้เอง ที่ทำให้หลายฝ่ายได้หันมาให้ความสำคัญกับการติดอาวุธทักษะดิจิทัลที่จำเป็นให้เยาวชน ซึ่งนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจยังไม่รู้เท่าทันกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเสพสื่อสังคมออนไลน์มากเกินไป โดยที่ผ่านมามีการใช้เครื่องมือหรือโครงการต่างๆ มากมายที่ทำขึ้นด้วยจุดประสงค์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กไทยห่างไกลจากภัยคุกคามในยุคดิจิทัลนี้

สำหรับ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทสัญชาติไทย ผู้นำเสนอโซลูชั่นและเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย ก็ได้ตระหนักถึงเหรียญอีกด้านของเทคโนโลยีอันทันสมัยที่เราใช้กันในยุคดิจิทัล ที่เมื่อมีข้อดี ก็มีข้อเสียเช่นกันถ้าเราใช้ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเสพสื่อออนไลน์เกินความจำเป็น ทีเคเค จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เด็กไทยเสพสื่อสังคมออนไลน์แต่พอดี ด้วยการให้ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้พวกเขาได้รู้เท่าทันสภาวะจิตใจของตนเอง โดยทาง ทีเคเค เลือกที่จะใช้ “นิทาน 2 ภาษา” ที่บอกเล่าด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่ายเรื่อง “คิตตี้และหนูแสนเศร้า” Kitty and the Gloomy Mouse ที่แต่งโดย ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์ เป็นสื่อในการเรียนรู้ให้เด็กไทยมีความเข้าใจในการเกิด “ภาวะซึมเศร้า” ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นคือการเสพสื่อสังคมออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมากเกินไป

TKK แจงที่มาของแคมเปญ Inpsych ชวนเด็กไทยมาสำรวจใจของตัวเอง พร้อมติดตั้งอาวุธสำคัญไว้ต่อกรกับภาวะซึมเศร้า

“ในฐานะที่เราเป็นบริษัทที่นำเสนอโซลูชั่นเทคโนโลยีการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม 4.0 หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แน่นอนว่าเราเห็นถึงข้อดีของการปรับเอาเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะมาใช้ และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเยาวชนและเด็กรุ่นใหม่ควรเรียนรู้และมีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลติดตัวเพื่อนำไปสู่การศึกษาต่อและการทำงานในสายเทคโนโลยีในอนาคต”

“ทว่าก็ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในรูปแบบของ Digital Disruption นี้เอง ที่ส่งผลให้เด็กรุ่นใหม่อาจไม่ทันตั้งตัว และใช้เวลาอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตมากจนเกินพอดี จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจแบบที่พวกเขาไม่รู้ตัว”

กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด

“จากแนวคิดที่สื่อสารถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับเยาวชนในสังคมไทยที่ กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เอง ที่นำมาสู่การจัดโครงการ Inpsych เพื่อนำ “นิทาน 2 ภาษา” เรื่อง “คิตตี้และหนูแสนเศร้า” Kitty and the Gloomy Mouse ไปขยายผลและเผยแพร่เป็นสื่อที่ใช้ในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้เด็กไทยมีความเข้าใจในสาเหตุของการเกิด “ภาวะซึมเศร้า” ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเสพสื่อสังคมออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมากเกินไป”

“ทั้งนี้ “นิทาน 2 ภาษา” เรื่อง “คิตตี้และหนูแสนเศร้า” เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ได้รับการตีพิมพ์และวางจำหน่ายใน amazon.com โดย น้องพั้นซ์ ที่เป็นผู้แต่งก็มีความตั้งใจในการที่จะเผยแพร่นิทานเรื่องนี้ไปในวงกว้าง เพื่อสร้างความเข้าใจและการรู้เท่าทันในเรื่องของภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าในเด็กและเยาวชน รู้จักการเสพสื่อสังคมออนไลน์อย่างพอดีและเหมาะสม ซึ่งจะนำสู่การป้องกันและการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กไทยห่างไกลจากการเป็นโรคนี้ได้ ซึ่งความตั้งใจนี้ก็สอดคล้องกับแนวทางที่ ทีเคเค ยึดมั่น ในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน คู่ขนานไปกับการดูแลสังคมไทยในทุกมิติ”

“โดยที่ผ่านมา ทีเคเค มีโครงการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการศึกษาไทย ทั้งในรูปแบบของการมอบเครื่องไม้เครื่องมือ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยให้กับวิทยาลัยอาชีวศึกาและมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วไทย เพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนนักเรียน นักศึกษา เปิดโอกาสให้เขาได้ศึกษาเรียนรู้กับเครื่องมือทันสมัยที่ใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม และ ทีเคเค ยังเป็นผู้ริเริ่มการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ Innovedex ที่เป็นรายการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับประเทศ และยังเป็นเวทีสำคัญที่ให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายได้มาแข่งขันทักษะในด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วย”

“และในครั้งนี้ ทีเคเค ได้ดำเนินโครงการ Inpsych ด้วยการใช้ บ้าน วัด โรงเรียน หรือ “บวร” เป็นกลไกในการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าในโรงเรียน บวกกับความร่วมมือของบริษัทภาคเอกชนอย่าง ทีเคเค ที่ส่งพนักงานอาสาสมัครไปร่วมกันขับเคลื่อนให้โครงการดีๆนี้ไปถึงยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กเยาวชน เพราะเราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือของทุกฝ่ายจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้โครงการนี้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้”

ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์

ที่มาและความตั้งใจของ “ภรภัทร คงสมจิตร” ผู้แต่ง นิทาน 2 ภาษา เรื่อง “คิตตี้และหนูแสนเศร้า”

แน่นอนว่าหนึ่งใน Key person หลักของโครงการ Inpsych นี้จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์ ที่ได้กล่าวถึงแนวคิดและที่มาของการแต่ง นิทาน 2 ภาษา เรื่อง “คิตตี้และหนูแสนเศร้า” ว่า

“ตอนนี้พั้นซ์เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน Emma Willard School ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งแต่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาที่นี่ ก็จะมีวิชารวมถึงกิจกรรมให้เราได้เลือกเข้าเรียนรู้เพิ่มเติมหรือร่วมกิจกรรมตามที่เราสนใจได้ และพั้นซ์ก็อยากลองแต่งนิทานและวาดภาพประกอบออกมาสักเล่มหนึ่ง จึงเอาไปปรึกษาคุณครูศิลปะ คุณครูสอนภาษาอังกฤษว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะทำนิทานออกมาได้น่าสนใจ น่าอ่าน”

“แล้วพั้นซ์ก็ใช้เทคนิคของการ Illustration และเทคนิคตัดแปะ หรือ Collage เพื่อสร้างสรรค์ภาพประกอบนิทานเล่มนี้ขึ้นมา แล้วนิทานเล่มนี้ก็ได้รับรางวัลในระดับโรงเรียนในวิชา Signature โดยคุณครูได้คัดเลือกผลงานของพั้นช์ให้ได้รับรางวัลเพราะสามารถทำผลงานได้ดีและผลงานนี้ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย”

ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์

“นอกจากนั้น แรงบันดาลใจในการแต่งนิทาน 2 ภาษา เรื่องนี้ ยังมาจากประสบการณ์ที่พั้นซ์ได้เป็น Leader ในโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนจะคัดเลือกเด็กนักเรียนมาทั้งหมด 15 คน และพั้นซ์ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ได้มาเป็น Leader ช่วยดูแลเพื่อนๆ ให้มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งพั้นซ์ทำมาได้ 3 ปีแล้ว”

โดยที่ผ่านมา พั้นซ์ก็จะทำโปสเตอร์ให้ความรู้เรื่อง ความเครียด การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากความเครียด และเมื่อถึงวันที่ 1 มีนาคม ของทุกปี พั้นซ์ก็มักจะร่วมกับเพื่อนๆและจัดกิจกรรมงาน “วันตระหนักการทำร้ายตนเอง (Self-injury Awareness Day)” โดยเปิดให้นักเรียนทุกคนมาทำ Body Paint หรือทำกำไลในธีมที่สอดคล้องกับวัน Self-injury Awareness Day ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเข้าใจและ Awareness ให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพจิตใจของตัวเอง”

และจากการได้รับโอกาสเป็น Leader ในด้านที่เล่ามา ทำให้ได้รับรู้ว่าปัญหาเรื่องภาวะซึมเศร้ามีความสำคัญมาก และเราในฐานะ Leader ก็มีหน้าที่ช่วยเพื่อนในการให้คำปรึกษา และพาเขาเข้าขั้นตอนของการตรวจสอบสภาวะจิตใจ ว่าสิ่งที่เขาเป็นและรู้สึก มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเขาหรือไม่ ถ้าเราพบว่าสิ่งที่เขารู้สึกอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตใจในระยะยาว เราจะได้นำไปแจ้งครูที่เป็นนักจิตวิทยาของโรงเรียนและนำสู่ขั้นตอนของการให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยทางจิตใจนี้ได้ทัน

ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์

“จากการรับรู้เรื่องความน่ากลัวของโรคซึมเศร้า พั้นซ์เลยอยากทำนิทานขึ้นมา เพราะนิทานสามารถเป็นสื่อที่ให้ความรู้ในรูปแบบของ Story Telling ได้ และนิทานก็ไม่ได้เข้าถึงแค่กลุ่มเด็กได้เท่านั้น ผู้ปกครองก็สามารถอ่านนิทานเล่มนี้ให้ลูกฟัง และเรียนรู้เรื่องโรคซึมเศร้าไปกับลูกได้เช่นกัน และพั้นซ์ก็เลือกบอกเล่าผ่านสัตว์อย่าง แมว หนู กระต่าย เพราะเมื่อบอกเล่าด้วยสัตว์เหล่านี้ ผู้อ่านจะไม่เกิดความรู้สึกหรือความอยากตั้งคำถามและเอาไปเปรียบเทียบเหมือนกับการบอกเล่าด้วยตัวละครที่เป็นคน เนื่องจากในการบอกเล่าในเรื่องยากๆ ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ฟัง ในต่างประเทศก็มักจะใช้การบอกเล่าผ่านสัตว์ต่างๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น”

“โดยในวันนี้นิทานเล่มนี้ได้วางขายใน amazon.com แล้ว ขั้นต่อไปพั้นซ์ก็อยากเผยแพร่ให้นิทานเรื่องนี้เข้าถึงกลุ่มเด็กนักเรียนชาวไทยให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ พอพั้นซ์ปิดเทอม เดินทางกลับมาไทย ก็เลยอยากนำนิทานเล่มนี้มาเผยแพร่ให้กับเด็กในวัยก่อนที่พวกเขาจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่นประมาณอายุ 9-12 ปี ให้มีความเข้าใจและรู้เท่าทันโรคซึมเศร้าผ่านการอ่านนิทาน “คิตตี้กับหนูแสนเศร้า” นี้”

พระมหาอดิศักดิ์ อภิปัญโญ เจ้าอาวาสวัดบรมสถล (วัดดอน สีลม)

ประสานความร่วมมือกับ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ส่งต่อ นิทาน 2 ภาษา “คิตตี้กับหนูแสนเศร้า” ติดตั้งอาวุธทางปัญญาให้เด็กไทย รู้ทันโรคซึมเศร้า

เพื่อส่งต่อ นิทาน 2 ภาษา “คิตตี้กับหนูแสนเศร้า” ที่แต่งขึ้นด้วยความตั้งใจของ ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์ ให้ไปถึงยังเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กไทยในต่างจังหวัดที่เรียนอยู่ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาได้เข้าถึงโอกาสการได้รับความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าที่ถูกต้อง เพื่อดูแลตนเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากโรคนี้ ทาง ทีเคเค จึงได้ประสานไปยัง พระมหาอดิศักดิ์ อภิปัญโญ เจ้าอาวาสวัดบรมสถล (วัดดอน สีลม) ซึ่งมีโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่ายการพัฒนาของทางวัด อย่าง โรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ จ.สกลนคร และเดินทางลงพื้นที่เพื่อไปทำกิจกรรมกับน้องๆ นักเรียนและมอบนิทาน 2 ภาษา “คิตตี้กับหนูแสนเศร้า” ให้กับครูและนักเรียนใช้เป็นสื่อในการทำการเรียนการสอนต่อไป

โดยในโอกาสนี้ พระมหาอดิศักดิ์ อภิปัญโญ ได้กล่าวว่า “พระอาจารย์เองได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนถึงเปรียญธรรม 8 และเรียนถึงปริญญาตรีและปริญญาเอก มีความก้าวหน้าในการศึกษาทางพระพุทธศาสนา ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา การเรียนรู้ จึงมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาไทย ตลอดจนมอบโอกาสทางการศึกษาให้ผู้แสวงหาโอกาสในทุกด้าน และในสังคมไทยเราก็มีความผูกพันกับในระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ที่จุนเจือช่วยเหลือกัน ทำให้ที่ผ่านมา พระอาจารย์ก็ได้สนับสนุนและช่วยเหลือกับโรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ จ.สกลนคร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่พระอาจารย์เคยเรียนอยู่ตั้งแต่เด็ก”

“ดังนั้นเมื่อได้ทราบถึงโครงการดีๆ ที่ทางบริษัท ทีเคเค อยากมาจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าผ่าน นิทาน 2 ภาษา จึงมีความยินดีที่จะประสานกับผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ เพราะมองว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักเรียนที่นี่ โดยเฉพาะการมีส่วนในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพวกเขาให้สามารถรับมือกับความเครียดหรือความทุกข์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และอาจทำให้เขาไปแสดงออกหรือหลงผิดไปในทางที่ไม่ดี เสียอนาคต ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นกิจกรรมที่ดีที่มีส่วนมาสร้างเกราะป้องกันทางจิตใจให้กับเด็กและเยาวชนที่นี่ได้เป็นอย่างดี”

คุณครูจินตนา หลานเศรษฐา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ

ด้าน คุณครูจินตนา หลานเศรษฐา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความประทับใจต่อกิจกรรมดีๆ ในครั้งนี้ว่า

“สำหรับ โรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนอยู่ทั้งหมด 120 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาถึงภาคบังคับในชั้น ม.3 และส่วนใหญ่ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนที่นี่ก็จะยากจน ปัญหาในปัจจุบันที่เรามักพบเจอบ่อยๆ ในโรงเรียน คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆจากการถูกเพื่อนบูลลี่ในโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนก็ใช้หลักการ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม โดยทางโรงเรียนมีครูแนะแนวที่คอยให้คำปรึกษานักเรียนในเรื่องนี้ และมีระบบดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน จะมีการดูแลเด็กเป็นรายบุคคล โดยครูประจำชั้นจะได้ลงไปเยี่ยมเด็กที่บ้านและคัดกรองว่ามีเด็กคนไหนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทางจิตใจจากสภาวะในครอบครัวหรือจากปัจจัยรอบด้าน ถ้าเด็กคนไหนมีความเสี่ยงก็จะกำชับให้ครูดูแลเป็นพิเศษ”

ภรภัทร คงสมจิตร หรือ น้องพั้นซ์

“ต้องยอมรับว่าในตอนนี้เด็กที่นี่ยังไม่ได้มีโอกาสที่จะเดินทางไปยังที่อื่นมากนัก จึงไม่ค่อยเปิดรับข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ จากภายนอกว่าอะไรบ้างที่จะเป็นภัยต่อตัวเขา และทำให้เขามีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ดังนั้น การที่ ทีเคเค และน้องพั้นซ์ เดินทางมาที่นี่เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของโรคซึมเศร้า และเผยแพร่ นิทาน 2 ภาษา เรื่อง คิตตี้กับหนูแสนเศร้า จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนที่นี่ได้มีความรู้และรู้เท่าทันโรคซึมเศร้า ทำให้เขาตระหนักถึงการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ รวมถึงพวกเขายังได้รู้วิธีการสังเกตตัวเองและคนรอบข้างว่ามีอาการเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหรือไม่อีกด้วย”

จากความสำเร็จของการจัดกิจกรรมให้ความรู้และเผยแพร่ นิทาน 2 ภาษา เรื่อง คิตตี้กับหนูแสนเศร้า ทาง ทีเคเค และน้องพั้นซ์ ยังได้ขยายผลกิจกรรมนี้ไปจัดที่โรงเรียนวัดดอน ที่กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีทั้งจากครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนานไปพร้อมกัน


ข่าวจาก salika.co