จากบนเวทีเสวนา เรื่อง “มองเทรนด์เทคโนโลยีโลก มองอนาคตอุตสาหกรรมไทย” ในงาน METALEX 2023 ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจไว้มากมายเกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยีโลก และแนวโน้มการพัฒนา อุตสาหกรรมไทยในอนาคต โดย Speaker ผู้ทรงคุณวุฒิบนเวที 3 ท่าน มาในวันนี้เราขอนำเสนอประเด็นต่อเนื่องที่ได้มีการนำมากล่าวถึง พร้อมข้อแนะนำและโซลูชั่นดีๆ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจของไทยสามารถเข้าถึงและปรับใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์เพื่อก้าวสู่ Industry 4.0 ได้อย่างทันท่วงที

ดร.บุณณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

ดร.บุณณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงการขายธุรกิจของ ปตท. เพื่อรองรับ เทรนด์ อุตสาหกรรมไทยในอนาคต ว่า

“ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของไทย ในวันนี้ เราใช้วิสัยทัศน์ใหม่ คือ “Powering Life with Future Energy and Beyond” หรือ ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต คือ เรายังคงมุ่งมมั่นเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานแต่มุ่งเน้นในเรื่องของ “พลังงานสีเขียว” แทน และพลังงานที่ทำก็เพื่อใช้อุปกรณ์ทันสมัยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานให้กับคนไทย ขณะเดียวกัน เราก็ไม่ได้ทำแค่ธุรกิจพลังงาน แต่ ปตท. ไปทำนอกเหนือจากธุรกิจพลังงาน โดยไปตอบโจทย์สังคมสูงวัย ด้วยการทำ Life Science หรือ ชีววิทยาศาสตร์ เช่น ยา อุปกรณ์การแพทย์ อาหารและโภชนาการ นอกจากนั้น เรายังศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องในเรื่องของโลจิสติกส์ โดยพูดถึง Advance Material ที่มาใช้กับงาน AI หรืออุตสาหกรรมสมัยใหม่ได้ เพราะงาน Material ยุคนี้ต้องเบาลง ขึ้นรูปได้สวยงาม”

“นอกจากนั้น เรายังตั้งใจทำในเรื่อง AI Robotic เพื่อตอบสนอง Industry 4.0 และต้องยอมรับว่า ในหลายเรื่อง ปตท. ในฐานะธุรกิจพลังงาน เราก็ยังไม่มีความรู้ในหลายเรื่องที่กล่าวมา ทำให้เราใช้วิธีหาพาร์ทเนอร์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่เป็นองค์กร ธุรกิจ รายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ ไปจนถึงสถาบันการศึกษา”

“และเรายังส่งเสริมพนักงานในองค์กร ที่อาจเป็นวิศวกรอยู่ แต่อยากทำธุรกิจใหม่ เราก็ให้โอกาสพวกเขาที่จะ spin ออกไปเป็นบริษัทเป็นสตาร์ทอัพที่ไปทำงานกับทีมอื่น นี่เป็นแนวทางที่ทาง ปตท. เตรียมปรับตัว ตั้งแต่เปลี่ยนวิสัยทัศน์บริษัท พัฒนากำลังคน และการวางแผนเลือกเทคโนโลยี ว่าเราจะจับเอาเทคโนโลยีไหนมาต่อยอดเป็นธุรกิจบ้าง โดยเราไม่ได้คิดว่าเทคโนโลยีหรือธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่ทาง ปตท. ไม่มี Core competency เพราะเรามีพันธมิตรธุรกิจมากมายที่มาเสริมความแข็งแกร่งให้เราได้ ซึ่ง บริษัททีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก็เป็นหนึ่งในบริษัทพันธมิตรที่มีความเข้มแข้งในเรื่องของการนำเสนอโซลูชั่นอัจฉริยะ อย่าง AI Robotic และระบบออโตเมชั่น ให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยมาอย่างยาวนาน”

กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ด้าน กัลยาณี คงสมจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้กล่าวถึงไลน์ธุรกิจ ที่ทาง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ให้ความสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์เทคโนโลยีและการดำเนินภารกิจการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างครบถ้วนว่า

“ทาง ทีเคเค คอร์เปอเรชั่น ก็มีวิสัยทัศน์ใหม่ ที่ยกระดับมาจากวิสัยทัศน์เดิมที่ว่า เราเป็น “Leading E-factory Automation Equipment” เนื่องจากเราเติบโตมาจากธุรกิจการเป็น Trader ที่เป็นตัวแทนขายระบบอัตโนมัติ อะไหล่ Spare part ของเครื่องจักร ในตอนนี้ เราเปลี่ยนวิสัยทัศน์มาเป็น “Your Partner in Tech-driven Solution” เพราะเรามองว่า ทีเคเค อยู่ใน Tech Industry และ อยู่ใน Manufacturing ที่เป็น Tech แล้ว และเรายังวิเคราะห์ว่า ทีเคเค เอง ก็เป็นหนึ่งในอีโคซิสเตมของ Tech company ในประเทศไทย”

“นอกเหนือจากการพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีแล้ว ที่ผ่านมา ทาง ทีเคเค ให้ความสำคัญกับการผลิตและพัฒนาคนให้มีทักษะทางเทคโนโลยีที่พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างการสร้างเสริมและพัฒนาทักษะ coding โดยใช้ซอฟแวร์ที่เป็น AI ซึ่งปีที่ผ่านมา เป็นปีแรกหลังวิกฤตโควิด ที่เรากลับมาจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ Innovedex อีกครั้งหนึ่ง ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยมีนักเรียนจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมาเข้าร่วมจากทั่วประเทศ เกือบ 300 คน ซึ่งสิ่งที่เราเห็นจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้คือ เยาวชนทั่วประเทศต้องการเวทีและ “โอกาส” ที่เขาจะมาได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะจำเป็นด้านเทคโนโลยี โดยในส่วนนี้เองที่องค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ควรที่จะมีบทบาทในการหยิบยื่นโอกาสนี้ให้กับเยาวชนของชาติที่เขาจะเติบโตไปเป็นบุคลากรคุณภาพต่อไป”

“ขณะที่ ทางทีเคเคก็ได้ร่วมมือกับทางนักวิจัยของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ในการพัฒนาโปรแกรม AI ที่คิดค้นโดยคนไทย นั่นคือ CIRA Core ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว. และได้รับการพัฒนาให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะ AI สัญชาติไทย ทำโดยคนไทย โดยทางทีเคเคมองว่า เราในฐานะองค์กรธุรกิจด้านเทคโนโลยี ถ้าได้มีโอกาสร่วมสนับสนุนงานวิจัยของภาคการศึกษาไทย ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะไม่สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจมากมาย แต่เราได้เห็นพัฒนาการความเติบโตของแพลตฟอร์มนี้อย่างต่อเนื่องจากการไม่หยุดพัฒนา ไม่หยุดทำ ของทีมงาน และในวันนี้ก็ได้นำไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมที่ทำในฝั่งของ QC เป็นระบบ Vision system ที่ทำให้กับโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ หลายแห่ง”

“มาในวันนี้ นอกเหนือจากเทคโนโลยีที่ผสมผสานกันแล้ว แต่ละองค์กร ต้องผสมผสาน หรือร่วมมือกันด้วย เพื่อให้องค์ความรู้ต่างๆ นี้อยู่ในประเทศของเรา และสามารถถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังได้ โดยเทคโนโลยีและองค์ความรู้นี้จะนำไปใช้ที่ไหนก็ได้ แต่ขอให้ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจในทุกขนาด ทุกระดับ ขอกลับมาที่ CIRA Core อีกครั้ง ต้องบอกว่าในวันนี้เราภาคภูมิใจมากกับผลิตภัณฑ์นี้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางทีเคเคกับทาง สจล. มีความตั้งใจริเริ่มจาก Non-commercialize คือไม่ได้แสวงหาผลกำไร เพราะที่ผ่านมาเราให้ license เอไอนี้กับสถาบันการศึกษาฟรี และยังจัดทีมวิศวกร เจ้าหน้าที่ของเราไปให้สอนการใช้ให้”

ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล depa

ด้าน ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล depa ได้กล่าวถึงภารกิจของ depa ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่เข้าไปส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยในทุกมิติว่า

“ตอนนี้เราพยายามสร้าง Use case เอไอ ให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงได้มากอย่างล่าสุดเราได้ลงพื้นที่ไปในชุมชน เพื่อนำโดรนไปให้ทางชุมชนได้ใช้ ในขั้นแรกเราได้ให้โดรนไปใน 500 ชุมชน ซึ่งเราวางรูปแบบเป็น co-funding ทางชุมชนต้องมี Business Model มา และมีชาวชุมชนรวมตัวกันมาและตั้งศูนย์ซ่อมโดรนในชุมชนด้วย และเราไปทำการเรียนการสอนให้ เมื่อเรียนจบหลักสูตร ก็จะมีการให้ certify ด้วย เหตุผลที่เราเข้าไปทำโครงการนี้กับภาคการเกษตรไทย เพราะ ต้องยอมรับว่าข้อมูลลภาคการเกษตรยังไม่ได้มีการบริหารจัดการที่ดีพอ และโครงการนี้จะเริ่มเข้าไปจัดเก็บ บริหารจัดการข้อมูลเข้ามาเก็นใน Data Cloud Center ของประเทศไทย”

“ทั้งนี้ในตอนนี้ ภาครัฐไม่ได้ทำโครงการที่มีลักษณะแบบเดิม คือการ มอบเงินให้ไป แล้วก็จบ แต่หน่วยงานอย่าง depa เราจะเขาไปเป็นเหมือนผู้ร่วมลงทุน depa เรียกได้ว่าเป้นหน่วยงานภาครัฐที่เข้าไปถือหุ้นในสตาร์ทอัพมากที่สุดก็ว่าได้ และเราทำงานในรูปแบบขององค์กรเอกชน ที่ต้องการขับเคลื่อนทุกภารกิจไปให้ได้ด้วยความรวดเร็ว”

“อย่างนอกจากโครงการโดรนแล้ว เรายังลงไปทำในเรื่องของ Weather forecast ที่จะไปวิเคราะห์พื้นที่ต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรเลยว่าสภาพอากาศตรงแปลงเพาะปลูกนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อเราได้ข้อมูลเหล่านี้มามากพอ เราก็จะสามารถสร้างเอไอที่มีความแม่นยำมากขึ้นในการทำเรื่องของ Precision Funding ได้”

“ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม เราเคยทำในเรื่องของ Industry Platform อยู่ เพราะต้องยอมรับว่า ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจของไทย ยังไม่ได้พัฒนามาสู่ industry 4.0 กันทั้งหมด อย่างภาคธุรกิจ บริการ อาจจะอยู่แค่ 2.0-3.0 ยิ่งในภาคอุตสาหกรรมจึงยังมีช่องว่างอยู่มากที่เรายังต้องไปเติมเต็ม ดังนั้น การสร้าง Industry platform เพื่อเชื่อมและทำงานร่วมไปกับแพลตฟอร์มใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ depa ให้ความสำคัญ”

“ต่อมาในเรื่องของโลจิสติกส์ก็เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะคอร์สในเรื่องของการทำโลจิสติกส์ในประเทศยังสูงอยู่ ตอนนี้เลยทมีการคุยกับสตาร์ทอัพ ให้เริ่มเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อมาวางแผนการ Sharing ทำ Consortium ขึ้นมา เพื่อจะทำให้เราลดต้นทุนบางอย่างของประเทศลงมาให้จับต้องได้มากขึ้น”


ข่าวจาก salika.co